เมื่อตั้งครรภ์ครบตามกำหนดแล้ว สิ่งที่เราตั้งหน้าตั้งตารอก็จะมาถึง นั่นก็คือการที่ลูกน้อยจะลืมตาออกมาดูโลกใบนี้ เป็นโซ่ทองคล้องใจของพ่อและแม่ ซึ่งคุณแม่ก็จะมีเรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับการคลอดดังนี้
- อาการบ่งบอกว่าเด็กใกล้คลอด
- มีอาการปวดเกร็งที่มดลูก คล้ายๆ กับการปวดช่วงที่เรามีประจำเดือน แต่ว่ามีความรุนแรงกว่าตอนที่ปวดประจำเดือนอยู่มาก จะเกิดขึ้นอย่าสม่ำเสมอ ประมาณทุกๆ 5-10 นาที
- มีมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด
- มีน้ำคร่ำ หรือของเหลวใสไม่มีสี หรือสีเหลืองอ่อนออกมาจากช่องคลอด
- น้ำหนักตัวของเด็ก
น้ำหนักตัวของเด็กที่ใกล้จะคลอดและคลอดออกมาจะอยู่ระหว่าง 2,500 – 4,500 กรัม ซึ่งแล้วแต่การดูแล การบำรุง และการกินของแม่ ซึ่งทารกที่มีสุขภาพดี ผิวพรรณจะผ่องใส เรียบเนียน และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างปลอดภัย
- สิ่งต้องห้ามสำหรับการคลอด
- ฟันปลอม หากว่าเราใส่ฟันปลอมให้ถอดออก เพราะหากว่าเราต้องดมยาสลบ อาจจะทำให้ฟันปลอมหลุดเข้าไปติดในหลอดลม ทำให้หายใจไม่ออกและเป็นอันตรายได้
- เครื่องประดับทุกชนิด โดยเฉพาะแหวน เพราะหลังจากคลอดตัวของเราอาจจะบวมขึ้น เครื่องประดับอาจจะบีบรัดเส้นเลือดทำให้เลือดลมติดขัด และทำให้ขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงทำให้เกิดอันตรายได้
- ยาทาเล็บ เล็บเป็นสิ่งบ่งบอกสุขภาพของคนที่ใกล้คลอด ดังนั้นควรปล่อยเล็บให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพื่อดูสุขภาพของเราผ่านทางเล็บ
วินาทีแห่งชีวิต
เมื่อถึงวินาทีที่คลอด เราก็ต้องตื่นเต้นเป็นธรรมดา แต่ก็อย่าไปตื่นเต้นจนทำอะไรไม่ถูก เพราะเราจะต้องตั้งสติให้มั่น แล้วคิดถึงตอนที่หมดบอกเอาไว้ว่าต้องทำอะไรตอนที่เราคลอดลูก
การเจ็บท้องเตือนก่อนคลอดนั้นแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป หากเป็นท้องแรกก็อาจจะเจ็บนานหน่อย ประมาณ 8 – 12 ชั่วโมง แต่ในท้องต่อมาเวลาก็จะลดลงเรื่อยๆ โดยอาจจะเหลือแค่ 6 – 8 ชั่วโมงเท่านั้น
- การคลอดลูกตามแบบธรรมชาติ
การคลอดลูกตามแบบธรรมชาติ คือการคลอดลูกออกมาโดยที่ไม่ต้องผ่าหรือใช้เครื่องมือใดๆ ใช้ความสามารถของแม่ล้วนๆ โดยเมื่อปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้ว คุณแม่จะถูกนำขึ้นเตียงคลอด โดยยกขาทั้งสองข้างขึ้น จากนั้นหมอหรือพยาบาลก็จะบอกให้เราแบ่งเป็นจังหวะการบีบรัดของมดลูก ซึ่งจะต้องหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ จนมดลูกหดตัวเต็มที่ จากนั้นก็ให้ผ่อนลมหายใจช้าๆ ในขณะที่มดลูกคลายตัว
เวลาที่ลูกออกมา จะเอาหัวออกมาก่อน จากนั้นก็ตามด้วยไหล่และขา และหลุดออกมาทั้งตัว แพทย์จะตัดสายสะดือและให้พยาบาลทำความสะอาดลูกน้อย ส่วนคุณแม่ก็ต้องคลอดรกออกมาโดยแพทย์จะกดหน้าท้องออกมาแล้วฉีดยาให้มดลูกหดตัวลง แล้วช่วยคลึงหน้าท้อง เพื่อช่วยให้มดลูกหดตัวลง
- การผ่าตัดออกทางหน้าท้อง
เป็นกรณีที่เด็กไม่ยอมกลับหัวเอาหัวลง โดยเอาขาลง ซึ่งหากคลอดในลักษณะนี้จะเป็นอันตรายต่อตัวเด็กได้ ซึ่งจะทำให้เด็กตายได้
หากว่าเราตรวจครรภ์อย่างละเอียด หมอที่เป็นเจ้าของไข้ของเราจะบอกกับเรา ว่าตอนนี้เด็กไม่ยอมกลับหัวก่อนการคลอด ซึ่งก็จะมีการนัดแนะวันผ่าตัดซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดเอาวันก่อนกำหนดคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะฉุกเฉินจนต้องผ่าตัดด่วน
การผ่าตัดทางหน้าท้องเป็นวิธีที่ปลอดภัยสำหรับการที่เด็กไม่ยอมกลับหัว เพราะวิธีอื่นออกจะเป็นวิธีที่ค่อนข้างเสี่ยงอยู่สักนิด ไม่ว่าจะเป็นการคลอดด้วยการเอาก้นออกก่อน เพราะการคลอดส่วนหัวอาจจะไม่ยอมออกมา ทำให้เด็กขาดอากาศหายใจได้
นอกจากกรณีที่เด็กคลอดยากแล้ว ยังมีกรณีที่แม่ไม่สามารถคลอดลูกเอง หรือหากต้องการผ่าตัดตามฤกษ์ ก็สามารถที่จะทำได้เช่นกัน หากแต่ทางที่ดีควรเลือกการคลอดตามธรรมชาติจะดีกว่า
- การกรีดช่องคลอด
การกรีดช่องคลอดหรือว่าการตัดฝีเย็บคือการใช้กรรไกรตัดผิวหนังระหว่างปากช่องคลอดและทวารหนัก เพื่อให้ปากช่องคลอดกว้างขึ้น และทำให้เราสามารถคลอดได้ง่ายยิ่งขึ้น
ซึ่งก่อนที่หมอจะทำการกรีดช่องคลอดนั้น หมอจะฉีดยาชาบริเวณดังกล่าว แล้วพอหัวของทารกออกมาจนเห็นหัวของเด็กประมาณ 3-4 เซนติเมตร หมอจะตัดช่องคลอดประมาณ 3-4 เซนติเมตร โดยการตัดมี 2 วิธีคือ
- แบบตรงกลาง โดยเริ่มจากตรงกลางไปยังปากช่องคลอดที่เปิดกว้างไปทางทวารหนัก
- แบบเฉียง คือตัดจากตรงกลางไปยังข้างๆ ซึ่งจะเหมาะกับการที่ทารกไม่ได้คลอดโดยนำหัวออกมาก่อน
แผลที่เกิดจากการเย็บช่องคลอดนี้ หมอจะทำการเย็บติดให้ทันที หลังจากที่เราคลอดรกออกมาแล้ว ซึ่งไหมที่ใช้เย็บก็เป็นไหมละลาย ซึ่งไม่ต้องมาตัดไหมทีหลัง ทำให้ไม่ต้องเกิดอาการบาดเจ็บใดๆ
มีหลายคนถามถึงความจำเป็นถึงการกรีดช่องคลอด ซึ่งผู้ที่เป็นหมอเห็นว่าจะต้องมีการกรีดช่องคลอดก็มีดังนี้
- การคลอดที่ต้องใช้คีม
- เด็กที่เอาขาหรือก้นออกมาก่อนส่วนหัว
- แม่เด็กที่ปวดท้องนานเกินไป
มีการประมาณการกันว่า หากว่าเป็นท้องแรกประมาณ 20 – 90 % จะต้องกรีดปากมดลูก ส่วนท้องหลังจะต้องกรีดปากมดลูกเพียง 20-30% เท่านั้น
ประโยชน์ของการกรีดปากมดลูกก็คือ
- หากไม่กรีดเนื้อก็อาจจะฉีกขาดได้ และจะเป็นเรื่องใหญ่กว่าการตัดปากมดลูกเพียงเล็กน้อย
- หัวของทารกไม่ต้องรับแรงบีบคั้นจากปากช่องคลอดที่เล็กได้
- วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเกิดการฉีกขาดไปถึงทวารหนักได้
- วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเกิดการฉีกขาดไปถึงทวารหนักได้
- การตัดและเย็บอย่างถูกวิธีนั้นสามารถช่วยป้องกันเนื้อเยื่อเชิงกรานได้เป็นอย่างดี
แต่แม้ว่าการกรีดช่องคลอดจะมีประโยชน์ แต่ก็อาจจะมีผลกระทบตามมาได้ หากว่าทำได้ไม่ดีพอหรือว่ามีอาการแทรกซ้อน ตัวอย่างเช่น
- มีความเป็นไปได้ที่แผลจะตัดยาวไปถึงช่องทวารหนัก
- ความยุ่งยากในการเย็บรอยแผลที่อาจจะเพิ่มขึ้น
- ปริมาณเลือดที่ออกเพิ่มขึ้นจากรอยแผล
- การปวดบวมและติดเชื้อ
- ความเจ็บปวดบริเวณแผล
- มีอาการเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ตอนที่แผลยังไม่ประสานดีนัก
ปัจจุบันการแพทย์เจริญก้าวหน้าไปมาก ทำให้เราไม่จำเป็นต้องกังวลกับการกรีดปากมดลูกมากนัก เพราะวิทยาการรวมถึงฝีมือของแพทย์ทำให้ความเสี่ยงของการอักเสบ บวมหรือว่าเกิดปัญหาในภายหลังลดน้อยถอยลง และอาการบาดเจ็บก็น้อยลงมาก เรียกได้ว่าหากเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียแล้ว การกรีดปากมดลูกก็มีข้อดีมากกว่าข้อเสียอยู่ดี
- การใช้คีมช่วยในการคลอด
ในสมัยก่อน การใช้คีมช่วยคลอดยังเป็นที่นิยม เพราะการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้านัก การผ่าตัดหน้าท้องยังมีความเสี่ยงอยู่และการใช้คีมก็ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำด้วยความระมัดระวังอีกด้วย
ในความเป็นจริงแล้ว คีมที่ช่วยในการคลอดจะไม่เป็นอันตรายต่อทารกอย่างที่เราวิตกกังวลกัน เพราะคีมตัวนี้จะมีรูปร่างโค้งงอไปตามตัวเด็ก และในส่วนที่ช่วยประคองหัวเด็ก หากว่าทำด้วยความระมัดระวัง ก็ไม่มีการกดทับแต่อย่างใด
ปัจจุบันแพทย์มักจะหลีกเลี่ยงการใช้คีม แต่จะใช้การผ่าตัดเปิดหน้าท้องมากกว่า เพราะมีผลกระทบต่อเด็กน้อยกว่า และมีความเสี่ยงน้อยกว่ามาก รวมไปถึงมีความสะดวกและง่าย ซึ่งในตอนนี้จะใช้คีมก็ต่อเมื่อหัวของเด็กลงมาในอุ่มเชิงกรานดีแล้ว จึงใช้คีมช่วยประคองหัวของเด็กออกมา