การตั้งครรภ์เดือนที่ 7

การตั้งครรภ์เดือนที่ 7  เมื่อย่างเช้าเดือนที่ 7 ควรจะงดการเดินทางทุกชนิด เพราะจะเข้าสู่ช่วงที่ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดการแท้ง หรือว่าคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย นอกจากนี้ก็ต้องเตรียมการก่อนการคลอด โดยอาจจะหาคนมาอยู่เป็นเพื่อน อาจจะมีพ่อแม่ญาติพี่น้อง เพื่อให้มีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา เผื่อมีการเจ็บท้องกะทันหัน จะได้ไม่เกิดอันตรายและมีคนช่วย ไม่ว่าจะเป็นการพาไปโรงพยาบาลหรือว่าช่วยในเรื่องอื่นๆ

นอกจากเรื่องที่ต้องเตรียมตัวเพื่อที่จะไปโรงพยาบาลแล้ว การนัดตรวจครรภ์ก็จะถี่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะ 3 เดือนสุดท้ายนี้ก็เป็นระยะสำคัญอีกเหมือนกัน โดยการตรวจจะตรวจเพื่อดูความแข็งแกร่งของทั้งแม่และลูก ไม่ว่าจะเป็นการนับการเต้นของชีพจร วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ดูพัฒนาการ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการดูแลเพื่อดูความพร้อมในการคลอดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

การเติบโตของลูก

สัปดาห์ที่ 28 ลูกในท้องเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด น้ำหนักตัวตอนนี้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 กรัม และสูงประมาณ 40 เซนติเมตร โดยระบบประสาททำงานได้ดีขึ้นจนรับความรู้สึกต่างๆ ได้แล้ว ผิวหนังที่เคยเหี่ยวย่นชุ่มชื่นขึ้น เนื่องจากต่อมน้ำมันเริ่มที่จะทำงานแล้ว ดวงตาของลูกสามารถลืมขึ้น และมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้

ข้อควรระวัง

ในช่วงระยะ 3 เดือนสุดท้าย ครรภ์จะได้รับการกระทบกระเทือนได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควรระมัดระวังให้มากขึ้น อย่าไปยกของหนัก อย่าออกกำลัง หรือว่าใช้แรงมาก อย่าเอื้อมมือไปหยิบของในที่สูง เวลาเดินต้องระมัดระวังอย่าให้ล้ม เรียกได้ว่าต้องระแวดระวังทุกกระเบียดนิ้วเลยทีเดียว

ข้อควรรู้

ช่วงนี้หากเป็นไปได้ให้เตรียมสิ่งของใช้จำเป็นสำหรับการคลอดเอาไว้เลย อย่างเช่น เสื้อผ้าของเรา ชุดชั้นในที่เหมาะสำหรับการให้นมลูก ผ้าขนหนู ผ้าอนามัย แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ นอกจากนั้น ก็ต้องเตรียมของสำหรับลูกเอาไว้ด้วย อย่างเช่น เสื้อผ้าเด็กอ่อน หมวก ถุงมือ ถุงเท้า ผ้าอ้อม ผ้าขนหนู เบาะหรือตะกร้าสำหรับเด็กอ่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 6
การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 6  ในเดือนนี้สิ่งที่เราต้องจัดการให้เรียบร้อยก็คือ การจองห้องและเตียง เนื่องจากอีกแค่ 2-3 เดือน ก็จะถึงกำหนดคลอด เราจึงควรแน่ใจว่ามีเตียงให้เราอยู่พักฟื้นหลังจากการคลอดแล้วนั่นเอง ในเดือนที่ 6 แพทย์สามารถตรวจเสียงหัวใจของลูกจากการฟังหูฟังได้แล้ว สุขภาพฟันยังเป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกคนควรที่จะเอาใจใส่ตลอดการตั้งครรภ์ ช่วงนี้เราจะรู้สึกว่าตัวเองดูทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด เนื่องมาจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น ส่วนหน้าอกก็ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งทางที่ดีเราควรที่จะเปลี่ยนเสื้อในตามความเหมาะสมของทรวงอก เนื่องจากหากว่าเราไม่เปลี่ยนเสื้อชั้นในให้เหมาะกับขนาดอก..
การดูแลครรภ์ในเดือนที่ 8
การดูแลครรภ์ในเดือนที่ 8 อีกเพียงแค่ 2 เดือนลูกน้อยก็ออกมาลืมตาดูโลกแล้ว ในช่วงเดือนที่ 8 นี้เราจะต้องดูแลเอาใจใส่ตัวเองมากเป็นพิเศษ เพื่อที่จะไม่เกิดความผิดพลาด หรือว่าเกิดอันตรายต่อลูกในท้องหรือว่าแท้งได้ ในช่วงนี้แพทย์จะนัดเราบ่อยขึ้นกว่าปกติ โดยจะนัดประมาณสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจชีพจร การเต้นของหัวใจ การเจริญเติบโต และสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อพัฒนาการของลูก รวมไปถึงสุขภาพต่างๆ ของแม่ด้วย ในช่วงระยะนี้เราควรจะจดความผิดปกติของร่างกายและนำไปพบแพทย์เพื่อไปตรวจ เพราะอาจจะเป็นปัญหาของความผิดปกติได้ เราจึงไม่ควรประมาท การเติบโตของลูก สัปดาห์ที่ 32 ระยะนี้ลูกจะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่แ..