การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

แน่นอนว่าก่อนที่เราจะตั้งครรภ์ เราจะต้องเตรียมการอย่างดีสำหรับลูกน้อย หรือที่เรียกว่าการวางแผนครอบครัวนั่นเอง ซึ่งหากเราคิดว่าเราพร้อมแล้วที่จะมีลูกกับเขาสักคน เราก็ควรที่จะต้องเตรียมร่างกายและใจให้พร้อมก่อน เพราะหากว่าเราไม่พร้อมแล้วปัญหาก็จะเกิดขึ้นมาอย่างแน่นอน

สิ่งแรกที่เราต้องเตรียมการก็คือเรื่องร่างกาย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะของสุขภาพของแม่เท่านั้น แต่สุขภาพของพ่อก็สำคัญ เพราะว่าลูกจะเกิดมาได้ก็เพราะพ่อกับแม่ทั้งสองคน ซึ่งสิ่งที่ควรปฏิบัติตั้งแต่ก่อนที่จะปล่อยให้ตั้งท้องขึ้นมามีดังต่อไปนี้

  • ตรวจสุขภาพ

อย่างที่บอกไปแล้วว่าสุขภาพของพ่อและแม่มีส่วนสำคัญต่อลูกในท้อง ดังนั้นก็ควรที่จะตรวจสุขภาพก่อนจะปล่อยให้มีลูก ซึ่งบางทีเราอาจจะไม่รู้ว่าเราเป็นโรคอะไรร้ายแรง หรืออาจจะเป็นโรคที่อาจจะไม่มีอันตรายต่อเรา แต่กับลูกในท้องก็อาจทำให้มีปัญหาขึ้นมาได้ ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ทุกคนควรที่จะไปตรวจก่อนที่จะมีลูก

โรคหัดเยอรมัน ก็เป็นโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาอยู่เหมือนกัน เพราะหากว่าคนเป็นแม่เป็นหัดเยอรมันตอนที่จะตั้งครรภ์ ลูกก็มีโอกาสที่จะพิการมากกว่าเด็กธรรมดาทั่วไป ซึ่งหากว่าเราจะปล่อยให้ท้อง เราก็ควรจะฉีดวัคซีนป้องกันเอาไว้อย่างน้อย 3 เดือน

โรคทางพันธุกรรมก็คือ โรคที่ติดต่อทางยีน พูดง่ายๆ ก็คือสามารถติดต่อจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกและรุ่นหลานได้ ก่อนที่จะตั้งท้องเราก็ควรจะต้องดูว่าครอบครัวของทั้งพ่อและแม่มีโรคอะไรที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โรคที่ว่าก็อย่างเช่น โรคปัญญาอ่อน กล้ามเนื้อพิการ

โรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับฟัน ก่อนที่จะตั้งครรภ์ควรที่จะตรวจสุขภาพฟันให้มีสุขภาพได้ เพราะว่าในยามที่ตั้งครรภ์ ลูกจะดูดเอาแคลเซียมที่บำรุงกระดูกและฟันของแม่ไป ทำให้แม่ฟันผุ บวมและอักเสบง่าย แต่กระนั้นถึงแม้ว่าเราจะดูแลรักษาอย่างดี เราก็สามารถฟันผุระหว่างที่ตั้งท้องได้อยู่ดี หากว่าเราไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ซึ่งแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียมก็คือ นม ระหว่างตั้งท้องเราจึงควรดื่มนมที่อุ่นที่อุดมไปด้วยแคลเซียมมากๆ

  • ระวังเรื่องยา

ยาบางชนิดมีผลต่อเด็ก ดังนั้นการกินยาชนิดใดชนิดหนึ่งนานๆ อาจจะมีการสะสมในร่างกายได้ ยาที่มีผลต่อเด็กก็อย่างเช่น ยาระงับความเครียด ยาระงับประสาท ยาโรคกระเพาะ ยาแก้แพ้ ยารักษาสิว ยาประภทสเตอรอยด์ ยาแก้โรคกระเพาะหืด เบาหวาน เป็นต้น

ดังนั้นหากว่าเราเป็นโรคประจำตัว หรือว่ากินยาชนิดใดประจำก็ควรจะนำยาที่กินเป็นประจำไปปรึกษาแพทย์ว่ามีอันตรายต่อเด็กไหมหากว่าเรามีเด็ก ซึ่งแพทย์ก็จะให้คำแนะนำแก่เรา และหากว่ายาดังกล่าวมีผลต่อลูกของเรา แพทย์ก็จะเปลี่ยนยาให้

บทความที่เกี่ยวข้อง

การวางแผนครอบครัว
วางแผนครอบครัวก่อนตั้งครรภ์     การมีลูกกับเขาสักคน หากไม่อยากที่จะทำให้เกิดเป็นปัญหาในอนาคต เราจำเป็นจะต้องคิดวางแผนก่อนว่า จะจัดการกับอนาคตของตัวเองและลูกอย่างไร เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวเอาทีหลัง     ช่วงเวลาในการคลอด เราควรกำหนดช่วงเวลาในการคลอดของเราคร่าวๆ ว่าน่าจะให้ลูกเกิดมาในช่วงไหน ถึงจะสะดวกต่อการเลี้ยงดูที่สุด ซึ่งแต่ละบ้านก็จะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เพราะบางบ้านช่วงปีใหม่จะว่าง บางบ้านช่วงปีใหม่จะยุ่ง การวางแผนจะมีลูกช่วงไหนก็พอจะเลือกได้เหมือนกัน เราควรจะกะเวลา แล้วปล่อยให้มีลูกก่อนหน้าเวลาที่กำหนดที่จะตั้งครรภ์สัก 1-2 เดือน อย่างเช่..
การตั้งครรภ์เดือนแรก
เดือนแรกของการท้อง ส่วนใหญ่แล้วเดือนแรกของการท้อง คุณแม่จะยังไม่ทราบว่ามีลูกมาถือกำเนิดในท้องแล้ว เนื่องจากอยู่ในช่วงของการเริ่มปฏิสนธิ และการเติบโตของเด็กก็ยังไม่มากจนกระทั่งสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน ระยะของการตั้งครรภ์ จะกำหนดเอาจากการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย อย่างเรามีประจำเดือนครั้งสุดท้ายวันที่ 15 มกราคมก็แสดงว่าเราเริ่มตั้งท้องตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม และมีกำหนดคลอดในอีก 9 เดือนข้างหน้า หรือในวันที่ 15 ตุลาคม และก็บวกไปอีก 7-15 หรือก็คือ 21-30 ตุลาคมนั่นเอง ดังนั้นในช่วงระยะ 9 เดือนนี้คุณแม่จึงต้องดูแลรักษาครรภ์อย่างดี   การท้องในช่วงเดือนแรกๆ จะเสี่ยงต่อการแท้..
ไม่ว่าเราจะชอบใช้ชีวิตสำมะเลเทเมาขนาดไหน หรือว่าติดอะไรมากแค่ไหน แต่ลูกก็ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก เราคงไม่อยากให้ลูกของเราพิการตั้งแต่อยู่ในท้องหรือแท้งไป ดังนั้นระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีข้อห้ามอีกไม่กี่ประการ เพื่อให้ลูกน้อยของเรามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์                 คนท้องจะมีข้อห้ามที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะหากทำแล้วจะเป็นอันตรายต่อลูกในท้อง ซึ่งอาจจะทำให้แท้งง่าย หรือาจจะทำให้ลูกพิการตั้งแต่กำเนิดได้ สิ่งต่อไปนี้ที่จะกล่าวถึงเป็นสิ่งต้องห้ามที่เราไม่ควรที่จะปฏิบัติอย่างเด็ดขาด เดินทางไกล เรื่อง..
ขนาดของท้อง
ขนาดของท้องมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของลูกหรือไม่? มีคุณแม่หลายๆ คน มีความสงสัยเกี่ยวกับขนาดของท้อง ซึ่งบางคนมีขนาดท้องที่เล็กกว่าปกติ ทำให้เกิดความสงสัยว่าลูกของเราจะมีความผิดปกติหรือไม่ หรือว่าโตไม่สมกับอายุครรภ์หรือเปล่า ในความเป็นจริงแล้ว ขนาดของท้องไม่เกี่ยวกับความผิดปกติของลูกเลย เพราะว่าขนาดตัวของแม่มีความแตกต่างกัน บางคนตัวเล็ก บางคนตัวใหญ่ บางคนตัวผอม บางคนตัวอ้วน บางคนเป็นท้องแรก บางคนเป็นท้องที่สามสี่ห้าหกแล้ว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ต่างมีผลต่อขนาดท้องของแม่ทั้งสิ้น คนที่ตัวผอม ตัวเล็ก และคนที่ท้องเป็นท้องแรกจะมีท้องที่เล็กกว่าคนที่ตัวอ้วน และเคยตั้งท้องมาก่อน สิ่งที่เรา..