การดูแลครรภ์ในเดือนที่ 8

การดูแลครรภ์ในเดือนที่ 8

อีกเพียงแค่ 2 เดือนลูกน้อยก็ออกมาลืมตาดูโลกแล้ว ในช่วงเดือนที่ 8 นี้เราจะต้องดูแลเอาใจใส่ตัวเองมากเป็นพิเศษ เพื่อที่จะไม่เกิดความผิดพลาด หรือว่าเกิดอันตรายต่อลูกในท้องหรือว่าแท้งได้

ในช่วงนี้แพทย์จะนัดเราบ่อยขึ้นกว่าปกติ โดยจะนัดประมาณสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจชีพจร การเต้นของหัวใจ การเจริญเติบโต และสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อพัฒนาการของลูก รวมไปถึงสุขภาพต่างๆ ของแม่ด้วย

ในช่วงระยะนี้เราควรจะจดความผิดปกติของร่างกายและนำไปพบแพทย์เพื่อไปตรวจ เพราะอาจจะเป็นปัญหาของความผิดปกติได้ เราจึงไม่ควรประมาท

การเติบโตของลูก

สัปดาห์ที่ 32 ระยะนี้ลูกจะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่แล้ว เริ่มที่จะกลับหัว เพื่อที่จะเตรียมตัวคลอดในอีกไม่ช้านี้ ผิวหนังมีความชุ่มชื้นและนิ่มขึ้น มีไขมันแทรกอยู่ตามผิวหนังมากยิ่งขึ้น ส่วนของกะโหลกศีรษะยังนิ่มและยืดหยุ่นอยู่ จึงควรให้ความระมัดระวังอย่างมาก และปอดสามารถทำงานได้เองแล้ว

ข้อควรระวัง

  1. ดูแลเอาใจใส่ตัวเอง สังเกตดูความผิดปกติไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
  2. ระมัดระวังในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น และกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ลูกคลอดออกมาอย่างแข็งแรง

ข้อควรรู้

เราควรจะตั้งชื่อลูกเตรียมเอาไว้ เพราะว่าเมื่อเราคลอดแล้วหมอจะถามเราว่าเราตั้งชื่อลูกว่าอะไร แล้วก็จะเขียนชื่อลูกเอาไว้ที่ข้อมือเด็ก เพื่อป้องกันการผิดพลาดจากกรณีที่คลอดลูกหลายคนแล้วอาจจะหยิบผิดได้ เราควรตั้งชื่อเตรียมเอาไว้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพื่อความสะดวก และเตรียมพร้อมเอาไว้

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตั้งครรภ์เดือนที่ 7
การตั้งครรภ์เดือนที่ 7  เมื่อย่างเช้าเดือนที่ 7 ควรจะงดการเดินทางทุกชนิด เพราะจะเข้าสู่ช่วงที่ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดการแท้ง หรือว่าคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย นอกจากนี้ก็ต้องเตรียมการก่อนการคลอด โดยอาจจะหาคนมาอยู่เป็นเพื่อน อาจจะมีพ่อแม่ญาติพี่น้อง เพื่อให้มีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา เผื่อมีการเจ็บท้องกะทันหัน จะได้ไม่เกิดอันตรายและมีคนช่วย ไม่ว่าจะเป็นการพาไปโรงพยาบาลหรือว่าช่วยในเรื่องอื่นๆ นอกจากเรื่องที่ต้องเตรียมตัวเพื่อที่จะไปโรงพยาบาลแล้ว การนัดตรวจครรภ์ก็จะถี่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะ 3 เดือนสุดท้ายนี้ก็เป็นระยะสำคัญอีกเหมือนกัน โดยการตรวจจะตรวจเพื่อดูความแข็งแกร่งของทั้งแม่และลูก ไม่ว่าจะเป็..
การดูแลครรภ์ในเดือนที่ 9
การดูแลครรภ์ในเดือนที่ 9 อีกไม่นานลูกก็จะคลอดออกมาแล้ว ดังนั้นเราจึงควรดูแลรักษาตัวเองเป็นอย่างดี พยายามอย่าเดินในที่ลื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุทำให้ล้มง่าย ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนทั้งแม่และลูก ช่วงนี้เราจะต้องเตรียมสุขภาพ และน้ำหนักของเราให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่าให้มากไปหรือน้อยเกินไป การเติบโตของลูก สัปดาห์ที่ 36 ระยะนี้ลูกเติบโตอยู่ในขั้นที่เกือบจะเรียกได้ว่าสมบูรณ์แล้ว มดลูกและตัวเด็กมีขนาดใหญ่จนถึงทรวงอก ข้อควรระวัง อย่าละเลยการไปพบแพทย์ตามกำหนดนัด แม้ว่าการคลอดทารกในช่วงอายุครรภ์นี้มีโอกาสรอดสูงถึง 90% แต่ลูกก็อาจจะไม่แข็งแรง ดังนั้นเราจึงควรจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภา..